วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2563

Imperial Tomb of Dong Khanh

อาณาจักรแรกของเวียดนาม คืออาณาจักรนามเวียด (อาณาจักรทางตอนเหนือ) ตกเป็นเมืองขึ้นของจีนมานานทำให้เวียดนามเป็นประเทศเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีน แม้ต่อมาอาณาจักรเวียดนามจะเป็นอิสระแต่ก็ยังคงส่งเครื่องราชบรรณาการให้จีน

เว้ เป็นเมืองหลวงหลักของจังหวัดเถื่อเทียน-เว้ ประเทศเวียดนาม และเคยเป็นเมืองหลวงเก่าในสมัยราชวงศ์เหงียนในช่วงปีค.ศ. 1802-1945 มีโบราณสถานอยู่ทั่วเมืองและยังคงหลงเหลือร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของนครจักรพรรดิ ซึงแต่ละแห่งล้วนมีเรื่องราวน่าสนใจมากมาย ทำให้เว้มีชื่อเสียงและได้รับการยืนยันจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ประกาศขึ้นเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปีค.ศ. 1973 จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมไม่ขาดสาย

การท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศเวียดนาม ทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั้งเอเชีย อย่างจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น นอกจากนี้เวียดนามยังดึงดูดนักท่องเที่ยวจากยุโรปจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นรัสเซีย, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส เป็นต้น และจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลียอีกด้วย


วันนี้เราจึงจะมาแนะนำแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในเวียดนามที่เป็นหนึ่งในสุสานจักรพรรดิราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนาม

ภาพจาก https://www.zeotrip.com/wp-content/uploads/2018/08/Vietnam-Hue-Imperial-Tomb-of-Dong-Khanh3.jpg


ภาพจาก https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEj_26jeBQ0wv3Qfd6S3tHDU-OX4ttqioP8LoHa-7SRR6AlaLpW8YTtrloesEb333K_wxs9k2bfCpbXhzJDr6ic9ziI6Q0-05xPC8Fd5wSFSVF9pH3NX7nFnx5ru99_IzhEwIK-P08prvVc/s320/Tumba_Emperador_Dong_Khanh_Hue.jpg


Imperial Tomb of Dong Khanh (สุสานจักรพรรดิโด่งแข็ง)

สุสานของจักรพรรดิ Dong Khanh เป็นสุสานของจักรพรรดิเว้ที่เล็กที่สุดโดยได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศสและประติมากรรมดินเผา สถานที่แห่งนี้เคยเป็นวัดในความทรงจำของบิดาของจักรพรรดิ (Nguyen Phuc Hong) แต่ถูกนำมาใช้เป็นหลุมฝังศพเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของจักรพรรดิDong Khanh อย่างกะทันหันในปี ค.ศ. 1889

จักรพรรดิKhanh Đồng พระองค์สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันเมื่ออายุ 25 ปีหลังจากครองราชย์ได้ 3 ปี เนื่องจากอายุยังน้อยเขาจึงไม่มีเวลาวางแผนและสร้างสุสานจักรพรรดิของท่าน ในช่วงเวลาเดียวกันคือปี1888 จักรพรรดิDong Khanhได้สั่งให้สร้างวัดเพื่อระลึกถึงพ่อของเขา เนื่องจากปัญหาที่แพร่หลายในภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนามและการเสียชีวิตอย่างกระทันหันของจักรพรรดิ ก็ตัดสินใจที่จะเปลี่ยนชื่อวัดเป็น Tu Truy และใช้เป็นสถานที่ของส่วนที่เหลือจักรพรรดิ Dong Khanhในเว้ ดังนั้นความจริงคือหลุมฝังศพถูกสร้างขึ้นในปี 1888 ก่อนการตายของจักรพรรดิในปี 1889 พื้นที่สุสานทั้งหมดถูกเรียกว่า Tu Lang กระบวนการสร้างต้องหยุดชะงักหลายครั้งและงานก่อสร้างส่วนใหญ่แล้วเสร็จภายใต้รัชสมัยของKhai Dinh บุตรชายของDong Khanhในปีค.ศ. 1917


โครงสร้างและองค์ประกอบของสุสานจักรพรรดิดงคานห์

หลุมฝังศพของDong Khanh เนื่องจากเริ่มแรกเป็นวัดและควบคู่ไปกับการที่พวกเขาใช้เวลาเพียง 8 เดือนในการสร้างทำให้อนุสาวรีย์นี้อยู่ในสุสานจักรพรรดิราชวงศ์เหงียนที่เล็กที่สุด

สุสานจักรพรรดิถูกสร้างขึ้นในยุโรปในช่วงอิทธิพลของสถาปัตยกรรมเอเชียเป็นหนึ่งในสถานที่ที่โดดเด่นที่สุดของชนิดเดียวกันของสถาปัตยกรรม บริเวณของสุสานประกอบด้วยอาคาร 20 หลังโดยเน้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และอยู่ใกล้กันมาก ลานพิธีตกแต่งด้วยรูปปั้นดินเผาที่ปูด้วยปูนซึ่งแตกต่างจากสุสานของจักรวรรดิอื่น ๆ ซึ่งทำจากหิน
ภาพจาก https://www.inspirock.com/vietnam/hue/imperial-tomb-of-dong-khanh-a6324777603


ภาพจาก https://media-cdn.tripadvisor.com/media/photo-s/09/f4/68/a2/dsc01533-largejpg.jpg

โดยทั่วไปแล้วอาคารในพื้นที่ค่อนข้างเก่า สถาปัตยกรรมของพระราชวังมีลักษณะคล้ายหอยทากในห้องโถงใหญ่และบ้านที่ต้องพึ่งพาอาศัยกันยังคงเป็นแถวที่สวยงามของเสาเคลือบสีทองที่มีโครงการตกแต่งตามสัตว์ลับสี่ตัวและสี่ตัว ต้นไม้มีค่า เป็นที่น่าสังเกตว่าพระราชวัง Ngung Hy ซึ่งถือเป็นสถานที่ที่สงวนไว้มากที่สุดของศิลปะการวาดภาพเครื่องเคลือบปิดทอง ยังเป็นที่รู้จักกันดีในเวียดนาม

ภาพจาก https://originvietnam.com/uploads/travel-guide/hue/Tomb_of_Dong_Khanh/IMG-24371.jpg

สุสานจักรพรรดิ Dong Khanh เป็นที่เก็บวัตถุโบราณของเมืองหลวงเก่าอย่างเว้ ซึ่งตั้งอยู่ในชุมชน Thuy Xuan  และยังได้รับการยืนยันจาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อปีค.ศ. 1993


ที่ตั้งของสุสานอิมพีเรียลตงคานห์

สุสานตงคานห์อยู่ห่างจากเมืองเว้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 6 กิโลเมตรข้างสุสานตือดึ๊ก


เวลาเปิดทำการของ Dong Khanh Imperial Tomb

สุสาน Dong Khanh เปิดทุกวันตั้งแต่ 7: 00 ถึง 11: 30 น. และ 13: 30 ถึง 17: 30 น. เนื่องจากงานอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพย่ำแย่หลายส่วนของสุสานจักรพรรดิจึงปิดไม่ให้ประชาชนเข้าชม


ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและราคาตั๋ว

เข้าชมสุสานอิมพีเรียลด่งคานห์มีราคาสัญลักษณ์ 22,000 ดอง (น้อยกว่า 1 ยูโร ดูสกุลเงินเวียดนาม)


ติดต่อ Imperial Tomb Dong Khanh

โทรศัพท์: 84 (0) 54 523237 


💜💛💚💙💖



เอกสารอ้างอิง

Oporshady. (2014). เว้ เมืองมรดกโลก เวียดนาม. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://travel.mthai.com/world-travel/63126.html

Origin Vietnam. (ม.ป.ป.). Dong Khanh Tomb. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://originvietnam.com/destination/vietnam/hue/dong-khanh-tomb.html

Vietnamitas en Madrid. (2011). Dong Khanh Imperial Tomb in Hue. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://en.vietnamitasenmadrid.com/2011/12/dong-khanh-imperial-tomb-hue.html

Vietnam online. (ม.ป.ป.). Dong Khanh Tomb. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://www.vietnamonline.com/attraction/dong-khanh-tomb.html

wikipedia. (2019). เว้. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%89


วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์

        ก่อนจะปฏิบัติงานมัคคุเทศก์ต้องมีการเตรียมตัวเสมอ เนื่องจากมัคคุเทศก์ถือเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยของนักท่องเที่ยวทั้งก่อนเดินทาง ตลอดการเดินทางและหลังเดินทาง หากไม่มีการตรวจสอบหรือเตียวตัวก่อน อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดที่เหนือการควบคุมได้ง่าย วันนี้เราจึงสรุปขั้นตอนก่อนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ มาไว้ให้นำไปเตรียมตัวกัน



ภาพจาก https://en.pimg.jp/020/606/961/1/20606961.jpg


อันดับแรกเราจะต้องได้รับมอบหมายงานจากบริษัทนำเที่ยวก่อน โดยปกติแผนกปฏิบัติการของบริษัทนำเที่ยวจะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งมัคคุเทศน์ที่มีความมั่นใจในประสบการณ์และชำนาญการอาจะเสนอตัวได้ แต่ก็ไม่ควรโทรศัพท์มาถามรายละเอียดงาน ควรเข้ามาที่บริษัทถึงจะเหมาะสม บริษัทก็จะมอบหมายงานให้ดังนี้

  • รายละเอียดในใบงาน
  • จำนวนและข้อมูลส่วนตัวของนักท่องเที่ยว
  • รายการนำเที่ยวฉบับสมบูรณ์ เช่น วันเวลาในการเดินทาง ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางแต่ละสถานที่ สถานที่พักแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว และร้านขายของที่ระลึก เป็นต้น
  • รายละเอียดของการชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระหว่างการนำเที่ยว
  • เอกสารและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
  • นโยบายของบริษัทในกรณีที่เกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติ

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนปฏิบัติงานมี 4ต ดังนี้

😄1. เตรียมเอกสาร

หลังจากนั้นเราก็ต้องตรวจสอบเอกสาร มักประกอบด้วย ใบงาน, รายการนำเที่ยวสำหรับผู้นำเที่ยว, ใบ Voucher หรือสัญญาการซื้อบริการนำเที่ยว, สำเนาจดหมายติดต่อธุรกิจระหว่างบริษัทนำเที่ยวกับสถานประกอบการต่าง ๆ , รายชื่อนักท่องเที่ยวสำหรับการจัดที่นั่งทั้งบนรถและบนเครื่องบิน, รายชื่อนักท่องเที่ยวสำหรับการจัดห้องพัก ที่เรียกว่า (Hotel) Rooming List

สำหรับในการนำเที่ยวออกนอกประเทศ (Outbound Tour) จำเป็นต้องตรวจสอบเอกสารสำหรับใช้ในการเดินทางเพิ่มเติมดังนี้

  • บัตรโดยสารเครื่องบินของนักท่องเที่ยว
  • แบบฟอร์มการเข้า-ออกประเทศ (Immigration Form)
  • แบบฟอร์มการแจ้งรายการสิ่งของต่อศุลกากร (Custom Declaration Form) ของประเทศที่จะเดินทางไป และที่สำคัญหนังสือเดินทางหรือPassportของนักท่องเที่ยว


😀2. เตรียมอุปกรณ์

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานนำเที่ยว ประกอบด้วย

  • ป้ายชื่อหรือสติกเกอร์ (Tag) สำหรับติดกระเป๋าเดินทางของนักท่องเที่ยว หรือจะเป็นริบบิ้นสีสดใสสำหรับผูกติดกระเป๋าเดินทางของนักท่องเที่ยว เพื่อป้องกันการสูญหายและสับเปลี่ยนกับกลุ่มอื่น
  • ป้ายชื่อนักท่องเที่ยวสำหรับให้นักท่องเที่ยวติดไว้กับตัว
  • สิ่งของกระจุกกระจิกสำหรับให้บริการและอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม
  • อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสนุกระหว่างการเดินทาง
  • เครื่องปฐมพยาบาล (First Aid Kids)
  • เครื่องขยายเสียงแบบพกพา เพื่อนักท่องเที่ยวจะได้สามารถได้ยินชัดเจนขึ้นและช่วยทุ่นแรงการใช้เสียงของมัคคุเทศก์เอง


ภาพจาก https://www.g-able.com/engine/wp-content/uploads/2017/11/lost.jpg


😊3. เตรียมข้อมูล

เริ่มจากควรศึกษาหาความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้เท่าทันเหตุกาณ์โลกปัจจุบันและสามารถอัปเดตให้นักท่องเที่ยวฟังได้ และเตรียมการด้านติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่มัคคุเทศก์อาจต้องติดต่อประสานงานก่อนปฏิบัติหน้าที่ เช่น

  • กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ในด้านของที่พักแรมและการนำชม
  • กรมศิลปากร ในด้านการนำชมแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์
  • กรมทางหลวง ตำรวจทางหลวง ตำรวจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทประกันภัย หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น เป็นต้น

นอกจากนี้ยังต้องศึกษากิจการของบริษัทนำเที่ยว เพื่อที่จะสามารถประชาสัมพันธ์บริษัทและเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบริษัทนำเที่ยวที่เราสังกัดอยู่และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย


😍4. เตรียมตัวเอง

ที่สำคัญที่สุดเลยคือมัคคุเทศก์ต้องเตรียมความพร้อมตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ ของใช้ส่วนตัว และเอกสารส่วนตัวของตัวเอง เพราะถ้ามัคคุเทศก์ไม่พร้อม ทุกอย่างที่วางแผนไว้ก็คงไม่ประสบผลสำเร็จ


การเตรียมตัวก่อนจะปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์มีอยู่ 4ต หลัก ๆ คือ เตรียมเอกสาร เตรียมอุปกรณ์ เตรียมข้อมูล และเตรียมตัวเอง จะเห็นได้ว่ามัคคุเทศก์ไม่ใช่มีหน้าที่แค่นำเที่ยวเท่านั้น พวกเขาต้องเตรียมตัวมาอย่างดีเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจ นึกถึงเราและกลับมาใช้บริการกับเราอีก

💛💚💙💜💗



เอกสารอ้างอิง

chickyshare. (2557). หลักการนาเที่ยว หลักการพูด และการแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าที่เกิดจากองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว ในระหว่างการนาเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://www.slideshare.net/chickyshare/t-guide-6

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เทคนิคการนำเสนอทัวร์ของมัคคุเทศก์

มัคคุเทศก์ หรือไกด์ เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือข้อมูล ความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ต่าง ๆ แก่บุคคลที่อยู่ในกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งมัคคุเทศก์ก็จะมีหลากหลายประเภทตามแต่ใบอนุญาตและความถนัดกันไป ซึ่งวันนี้เราก็จะมาแนะนำเทคนิคในการนำเสนอทัวร์ของมัคคุเทศก์ โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็น ดังนี้


1. กระบวนการทำงาน

    มัคคุเทศก์ที่ดีควรเริ่มจากการแนะนำตัวและอธิบายภาพรวมของโปรแกรมทัวร์ ว่าวันนี้เราจะไปที่ไหน ทำอะไรกันบ้าง พอมาถึงจุดรวมพลก็ควรแนะนำภาพรวมของสถานที่นั้น ๆ อย่างคร่าว ๆ ก่อนจะนำชมควรให้ลูกทัวร์เข้าห้องน้ำและอธิบายกฎหรือข้อห้ามซึ่งเป็นวัฒนธรรมและข้อระวังของประเทศนั้น ๆ ที่สำคัญอย่าลืมนัดแนะเรื่องเวลาและสถานที่ที่จะเจอกัน หลังชมเสร็จ เราต้องคอยเช็คจำนวนลูกทัวร์เสมอ


2. เนื้อหาที่มัคคุเทศก์ควรนำเสนอ

    เนื้อหาที่มัคคุเทศก์นำเสนอควรแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ

-Must talk สิ่งที่ต้องพูด ซึ่งครอบคลุม 5W และ 1H 

5W1H คืออะไร?

  • Who ใคร
  • What ทำอะไร
  • Where ที่ไหน
  • When เมื่อไหร่
  • How อย่างไร
  • Why ทำไม

-Should talk เกร็ดความรู้เพิ่มเติมที่นักท่องเที่ยวหรือลูกทัวร์ควรทราบ

-Could talk ถ้าเกิดว่าลูทัวร์สนใจก็ค่อยอธิบายเพิ่ม เช่น เรื่องสัพเพเหระ ตำนานหรือเรื่องเล่า เป็นต้น


3. เทคนิคการนำเสนอ/การพูดของมัคคุเทศก์

    แน่นอนว่าบุคลิกภาพของมัคคุเทศก์ต้องดี กล่าวคือควรมีความมั่นใจ ยืนตัวตรง Eye contact กับผู้ฟัง พูดเสียงดัง ฟังชัดมีหนักเบา ไม่ใช่ใช้น้ำเสียงเดียว อาจจะมีผายมือประกอบเพิ่มถ้ากำลังอธิบายลักษณะสิ่งของ แต่ไม่ควรขยับยุกยิก ๆ เพราะจะทำให้ลูกทัวร์เสียสมาธิได้ ที่สำคัญคืออย่าลืมยิ้ม! รอยยิ้มเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ไกด์น่าสนใจมากขึ้น

    เลือกจุดนำชมที่เหมาะสม กล่าวคือ เป็นสถานที่ร่ม แดดไม่สองทั้งไกด์และลูกทัวร์ อาจจะมีที่นั่งพักด้วยก็ยิ่งดี สมารถมองเห็นจุดเชื่อมโยงสำคัญได้ครบ อย่างเช่นถ้าไกด์บรรยายอยู่หน้าโบสถ์หรือเจดีย์ ก็ควรจะเลือกจุดที่ลูกทัวร์ไม่ต้องแหงนหน้ามอง กล่าวคือไม่ควรจะยืนใกล้กับเจดีย์มากนั่นเอง ต่อมาถ้าเป็นวัตถุอย่าง พระพุทธรูป ไกด์สามารถยืนใกล้ได้เพื่อจะอธิบายรูปทรง ลักษณะ และที่สำคัญไมควรยืนบังวัตถุจัดแสดง อาจจะยืนทำมุม 45 องศาก็ได้

    มีการอธิบายศัพท์เฉพาะก่อน ค่อยอธิบายความหมายเพิ่ม เช่น Stupa หรือ สถูป แทนที่เราจะใช้ศัพท์อังกฤษเลย เราพูดศัพท์เฉพาะ สถูป ก่อน แล้วค่อยอธิบายความหมายตาม จะทำให้น่าสนใจมากกว่า

    การทำให้ลูกทัวร์มีส่วนร่วมในการบรรยายอย่างถามคำถามแบบ two way communication กล่าวคือ มีช้อยให้เขาเลือกตอบนั่นเอง

    การชี้จุดสำคัญที่ทำให้ลูกทัวร์สังเกตและจำได้ง่ายขึ้น ได้ยังไง?                      การใช้คำคุณศัพท์อย่างสี หรือลักษณะเฉพาะ จะช่วยให้ลูกทัวร์สังเกตได้ ว่าเรากำลังพูดถึงอะไรนั่นเอง นอกจากนี้อาจจะมีอุปกรณ์เสริมอย่างรูปภาพ มาช่วยได้ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าไปบรรยายในตัวอาคารได้ เพราะจะเป็นการรบกวนผู้อื่นด้วย

ถ้าเกิดลูกทัวร์สงสัยและถามคำถาม ไกด์ควรทวนคำถามขอลูกทัวร์ก่อนว่าเข้าใจตรงกัน หรือเรื่องเดียวกันไหม? นอกจากนี้การทวนคำถามยังช่วยให้ไกด์ได้มีเวลาคิดคำตอบเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนการตอบคำถาม ไม่ควรตอบยาว เพราะจะทำให้ลูกทัวร์หมดความสนใจ หรือเป็นการเปิดโอกาสให้เขาถามต่อ และอาจจะเสียเวลาได้

ภาพถ่ายโดย สุพรรษา ฤทธิพิพัฒน์

  

  จะเห็นได้ว่าการเป็นมัคคุเทศก์ที่ดีนั้นไม่ใช่เนื้อหา ข้อมูลต้องแม่นยำอย่างเดียว ควรมีเทคนิควิธีที่จะทำให้ลูกทัวร์ยังคงมีความสนใจในสิ่งที่เรากำลังเสนอ เพราะถ้าเรามัวแต่เสนอข้อมูลโดยลืมโฟกัสที่ผู้ฟัง ก็จะทำให้ทัวร์นั้นน่าเบื่อไปเลยทันที 

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากยุคหินเก่าจนเข้าสู่ความเป็นอารยธรรม

   มนุษย์มีสมองในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ สนองต่อการใช้ชีวิตของตัวเองและพัฒนาให้มีความก้าวหน้าขึ้นตามยุคสมัย จนกลายเป็นวัฒนธรรมหรือวิถีชีวิตที่สืบทอดต่อกันมา และเป็นอารยธรรมที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุด

เกษตรกรรมเปลี่ยนสังคมอย่างไร?

    ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ สมัยหินเก่าที่มนุษย์ยังไม่รู้จักอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง พวกเขาเร่ร่อนอาศัยอยู่ตามถ้ำ เพิงผา หรือหุบเขา โดยล่าสัตว์หาพืชเป็นอาหารในการดำรงชีวิต รู้จักใช้ไฟ มีการสร้างอาวุธอย่างง่าย ๆ โดยใช้หินกระเทาะหยาบ ๆ ไม่มีความปราณีตแต่อย่างใด ซึ่งพวกเขาก็มีการพัฒนาด้านภาษา อย่างการรู้จักสร้างสรรค์ภาพวาดบนผนังถ้ำ นอกจากนี้แล้วยังรู้จักฝังศพด้วย จะเห็นได้ว่าในยุคหินเก่านั้น มนุษย์รู้จักเพียงการปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ สังคมจึงยังไม่ซับซ้อนมากนัก

ยุคหิน - Pakkapol Sirmongkol
ภาพจาก https://sites.google.com/site/pakkapolsirmong/home/yukh-hin


    ต่อมาในสมัยหินใหม่มนุษย์รู้จักตั้งรกรากอยู่กันเป็นหลักแหล่ง มีการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นแหล่งอาหาร มีการพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ อย่างการผสมทองแดงกับดีบุก และได้เป็นทองสัมฤทธิ์ที่มีความแข็งแรงขึ้น หรือเครื่องมือที่ทำจากหิน ก็ขัดฝนให้มีความแหลมคมและประณีตสวยงามขึ้น หม้อดินเผา ทอผ้า และคันไถ นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มขึ้นของกิจกรรม และการค้า ที่ทำให้เกิดความมั่งคั่งตามมา 

    จะเห็นได้ว่าเมื่อมนุษย์รู้จักตั้งรกรากอย่างเป็นหลักแหล่งและทำการเกษตร ผู้คนจึงอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มหรือหมู่บ้านเล็ก ๆ ทีนี้สังคมก็จะซับซ้อนขึ้น เพราะการที่มนุษย์อยู่รวมกันหลาย ๆ คน ต้องมีกฎมีเกณฑ์ที่ใช้ร่วมเพื่อความสงบสุข ความเชื่อและศาสนาก็จะเกิดขึ้น เพราะเชื่อตาม ๆ กันมา บูชาสิ่งเหนือธรรมชาติ แน่นอนว่าการอยู่ร่วมกันของคนหมู่มาก หลายคนย่อมมีหลายความคิด และนำมาซึ่งความขัดแย้ง ก่อให้เกิดสงครามและโรคระบาดตามมา

ยุคหินใหม่(neolithic period หรือ new... - วัฒธรรมศึกษา ...
ภาพจาก  https://scontent.fbkk8-3.fna.fbcdn.net/     


    จากยุคหินใหม่ที่กล่าวมานั้นจะเห็นได้ว่าเกษตรกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงจากยุคหินเก่าเป็นอย่างมาก มนุษย์ในตอนนั้นอาจจะยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าพวกเขาได้วางรากฐานของอารยธรรมขึ้นแล้ว จากการที่มีหมู่บ้าน มีแหล่งอาหาร หลาย ๆ แหล่ง จนเกิดเป็นเมือง (cities) ขึ้น และเป็นการเริ่มต้นของยุคประวัติศาสตร์

    เกษตรกรรมที่ถูกพัฒนาได้มีวิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยเพิ่มผลผลิต คือการทำชลประทาน กักเก็บน้ำในยามแล้งได้ ทำให้มีผลผลิตเหลือเฟือพอที่จะจำหน่ายและแลกเปลี่ยนกันได้ จนเกิดเป็นเศรษฐกิจ มีการค้า มีการจายตัวของแรงงาน  ผู้คนเริ่มไปทำงานฝีมือที่ใช้ความสามารถเฉพาะด้าน ไม่ทำเพียงการเกษตรแล้ว 

ประวัติศาสตร์สากล] อารยธรรม เมโสโปเตเมีย EP-01
ภาพจาก https://t1.bdtcdn.net/photos/2020/05/5eccc94388f1520cb84a083b_800x0xcover_e4V9GciI.jpg


    เมื่อเกิดการจำแนกแรงงานไปตามความสามารถ ทำให้เกิดเป็นชนชั้นทางสังคมตามมา เพราะสังคมเรามีอาชีพที่แตกต่างกันไปทำงานส่วนต่าง ๆ เช่น ทหาร ตำรวจ วิศวกร ชาวนา เป็นต้น รัฐบาลจึงต้องมีการจัดระเบียบการปกครองที่ดีและเป็นแบบแผนขึ้น นอกจากนี้ยีงมีศาสนาที่เป็นทางการอีกด้วย

    สรุปได้ว่าอารยธรรมเกิดขึ้นอย่างอิสระจากความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งเพาะปลูก ที่มีอาหารมากพอสนับสนุนการเจริญเติบโตของประชากร จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่รู้จักเพียงปรับตัวกับสภาพแวดล้อม ก็ค่อย ๆ คิดค้นพัฒนาทรัพยากรในพื้นที่ให้เกิดผลประโยชน์ที่ยั่งยืนและยาวนาน ถือเป็นการวางรากฐานอารยธรรมให้กับลูกหลานในเวลาต่อมา

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2563

วิวัฒนาการของมนุษย์

    วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับบรรพบุรุษและวิวัฒนาการของพวกเราตั้งแต่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ว่ามีการพัฒนาและปรับตัวอย่างไรบ้าง?

วิวัฒนาการของมนุษย์
ภาพจาก http://119.46.166.126/self_all/selfaccess12/m6/550/lesson4/image/29.jpg 
   



มนุษย์นั้นมีกำเนิดจากบรรพบุรุษที่มีพันธุกรรมที่เหมือนกัน แต่ด้วยยุคสมัยทำให้สปีชีย์ที่ความแตกต่างกันออกไป จึงทำให้มนุษย์มีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งวันนี้เราขอเสนอ 4สายพันธุ์หลัก ๆ ดังนี้

1. Australopithecine

หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า "Southern ape" ที่มีลักษณะคล้ายลิง โดยพบในแอฟริกาประมาณ4-5 ล้านปีมาแล้ว มีคุณสมบัติของมนุษย์คือยืนตัวตรง เดินสองขา แต่มีสมองขนาดเล็กขนาด1 ใน 3 ของสมองมนุษย์ในปัจจุบัน และก็ไม่พบร่องรอยของวัฒนธรรมใด ๆ 

2. Homo habilis

ชื่อเรียกอีกอย่างคือ "Handy man" หรือมนุษย์ใช้มือ ปรากฏในแอฟริกาประมาณ2.4 ล้านปีมาแล้ว สมองขนาดใหญ่ขึ้นจากกลุ่มแรกคือมีขนาดเท่าครึ่งนึงของมนุษย์ปัจจุบัน และยังพบร่องรอยของวัฒนธรรม ที่มีการทำเครื่องมือจากหิน เช่น หินสับ หินขูด เป็นต้น

3. Homo erectus

ชื่อเรียกอีกอย่างคือ "Upright man" หรือมนุษย์ที่ยืนตัวตรง โดยปรากฏในแอฟริกาประมาณ2-1.5 ล้านปีมาแล้ว มีร่องรอยของวัฒนธรรมคือการใช้วัสดุจากหินมาทำเครื่องมือเช่น ขวานหิน ที่มีความละเอียดขึ้น และยังรู้จักการควบคุมไฟอีกด้วย ในเวลาต่อมาเริ่มอพยพออกจากแอฟริกา

4. Homo sapiens 

ชื่อเรียกอีกอย่างคือ "wise man" หรือ มนุษย์ฉลาด ปรากฏในแอฟริกาประมาณ200,000 ปีมาแล้ว และเริ่มกระจายไปทั่วโลก ซึ่งเป็นสปีชีย์เดียวกับมนุษย์ในปัจจุบันนี้ ร่องรอยของวัฒนธรรมที่ค้นพบ คือการก่อไฟและเครื่องมือแหลมคมมากขึ้น

แรกเริ่มใช้ไฟในโลก และผลต่อวิวัฒนาการ เมื่อไฟทำให้มนุษย์งงกับการปี ...
ภาพจาก https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2019/.jpg

มนุษย์ที่ถูกพบในเอเชีย


1.
มนุษย์ปักกิ่ง (Peking man)

ถูกค้นพบในปีค.ศ. 1923 ซึ่งอยู่ในถ้ำที่อยู่ใกล้หมู่บ้าน Zhoukoudian ใกล้กับปักกิ่ง บรรพบุรุษอาศัยอยู่ในจีนระหว่าง200,000-750,000 ปีมาแล้ว ร่องรอบที่พบจะเป็นงานไม้ ขุดรูและรู้จักการใช้ไฟ

2. มนุษย์ชวา (Java man)

ถูกค้นพบบนเกาะชวาในปีค.ศ. 1891-1892 โดย Eugene Dubois พบร่องรอยวัฒนธรรมคือเครื่องมือ หมวก กระดูกต้นขา ที่ Trinil บริเวณริมฝั่งแม่น้ำSolo ในชวาตะวันออก

การปรับตัวของมนุษย์ในยุคหินเก่า และหินใหม่

1. ยุคหินเก่า (Stone age) 2.5 ล้าน-10,000 ปีมาแล้ว

ผู้คนยังเร่ร่อน อาศัยอยู่ในถ้ำและเป็นนักล่า มีการปรับตัวใช้เครื่องมือที่ทำจากหินเป็นหลัก หลังจากนั้นค่อยรู้จักใช้ไม้และกระดูก เสื้อผ้าทำจากหนังสัตว์ ที่พักอาศัยก็ทำจากหนังและไม้หรือกระดูก มนุษย์ในยุคนี้มีความเชื่อเรื่องหลังความตาย

2. ยุคหินใหม่ (New stone age) 

ผู้คนมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง มีเครื่องไม้เครื่องมือที่หลากหลายมากขึ้น เช่น สิ่ว เจาะ เลื่อย เป็นต้น ด้านการเกษตรก็รู็จักใช้ใยพืชมาทำเป็นกับดักจับสัตว์ และมีการทำฟาร์ม และทำแหล่งอาหารหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้การเพาะปลูกพืชพันธุ์ก็มีหลากหลายสายพันธุ์และกระจายไปทั่วโลกมากขึ้นเช่นกัน


    จะเห็นได้ว่ามนุษย์นั้นมีวิวัฒนาการตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าทรัพยากรในแต่ละยุคสมัยจะแตกต่างกันออกไป แต่มนุษย์รู้จักปรับตัวและคิดค้นเครื่องมือที่จะทำให้ตนอยู่รอดได้อย่างน่าเหลือเชื่อ

วัดเชียงควน