วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563

การเตรียมตัวก่อนปฏิบัติหน้าที่ของมัคคุเทศก์

        ก่อนจะปฏิบัติงานมัคคุเทศก์ต้องมีการเตรียมตัวเสมอ เนื่องจากมัคคุเทศก์ถือเป็นผู้ดูแลความเรียบร้อยของนักท่องเที่ยวทั้งก่อนเดินทาง ตลอดการเดินทางและหลังเดินทาง หากไม่มีการตรวจสอบหรือเตียวตัวก่อน อาจจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดที่เหนือการควบคุมได้ง่าย วันนี้เราจึงสรุปขั้นตอนก่อนปฏิบัติงานอย่างคร่าว ๆ มาไว้ให้นำไปเตรียมตัวกัน



ภาพจาก https://en.pimg.jp/020/606/961/1/20606961.jpg


อันดับแรกเราจะต้องได้รับมอบหมายงานจากบริษัทนำเที่ยวก่อน โดยปกติแผนกปฏิบัติการของบริษัทนำเที่ยวจะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งมัคคุเทศน์ที่มีความมั่นใจในประสบการณ์และชำนาญการอาจะเสนอตัวได้ แต่ก็ไม่ควรโทรศัพท์มาถามรายละเอียดงาน ควรเข้ามาที่บริษัทถึงจะเหมาะสม บริษัทก็จะมอบหมายงานให้ดังนี้

  • รายละเอียดในใบงาน
  • จำนวนและข้อมูลส่วนตัวของนักท่องเที่ยว
  • รายการนำเที่ยวฉบับสมบูรณ์ เช่น วันเวลาในการเดินทาง ยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางแต่ละสถานที่ สถานที่พักแรม ร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว และร้านขายของที่ระลึก เป็นต้น
  • รายละเอียดของการชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในระหว่างการนำเที่ยว
  • เอกสารและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่
  • นโยบายของบริษัทในกรณีที่เกิดปัญหาหรือเหตุการณ์ผิดปกติ

ขั้นตอนการเตรียมตัวก่อนปฏิบัติงานมี 4ต ดังนี้

😄1. เตรียมเอกสาร

หลังจากนั้นเราก็ต้องตรวจสอบเอกสาร มักประกอบด้วย ใบงาน, รายการนำเที่ยวสำหรับผู้นำเที่ยว, ใบ Voucher หรือสัญญาการซื้อบริการนำเที่ยว, สำเนาจดหมายติดต่อธุรกิจระหว่างบริษัทนำเที่ยวกับสถานประกอบการต่าง ๆ , รายชื่อนักท่องเที่ยวสำหรับการจัดที่นั่งทั้งบนรถและบนเครื่องบิน, รายชื่อนักท่องเที่ยวสำหรับการจัดห้องพัก ที่เรียกว่า (Hotel) Rooming List

สำหรับในการนำเที่ยวออกนอกประเทศ (Outbound Tour) จำเป็นต้องตรวจสอบเอกสารสำหรับใช้ในการเดินทางเพิ่มเติมดังนี้

  • บัตรโดยสารเครื่องบินของนักท่องเที่ยว
  • แบบฟอร์มการเข้า-ออกประเทศ (Immigration Form)
  • แบบฟอร์มการแจ้งรายการสิ่งของต่อศุลกากร (Custom Declaration Form) ของประเทศที่จะเดินทางไป และที่สำคัญหนังสือเดินทางหรือPassportของนักท่องเที่ยว


😀2. เตรียมอุปกรณ์

อุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานนำเที่ยว ประกอบด้วย

  • ป้ายชื่อหรือสติกเกอร์ (Tag) สำหรับติดกระเป๋าเดินทางของนักท่องเที่ยว หรือจะเป็นริบบิ้นสีสดใสสำหรับผูกติดกระเป๋าเดินทางของนักท่องเที่ยว เพื่อป้องกันการสูญหายและสับเปลี่ยนกับกลุ่มอื่น
  • ป้ายชื่อนักท่องเที่ยวสำหรับให้นักท่องเที่ยวติดไว้กับตัว
  • สิ่งของกระจุกกระจิกสำหรับให้บริการและอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว
  • อาหารว่างและเครื่องดื่ม
  • อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับจัดกิจกรรมให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมสนุกระหว่างการเดินทาง
  • เครื่องปฐมพยาบาล (First Aid Kids)
  • เครื่องขยายเสียงแบบพกพา เพื่อนักท่องเที่ยวจะได้สามารถได้ยินชัดเจนขึ้นและช่วยทุ่นแรงการใช้เสียงของมัคคุเทศก์เอง


ภาพจาก https://www.g-able.com/engine/wp-content/uploads/2017/11/lost.jpg


😊3. เตรียมข้อมูล

เริ่มจากควรศึกษาหาความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้เท่าทันเหตุกาณ์โลกปัจจุบันและสามารถอัปเดตให้นักท่องเที่ยวฟังได้ และเตรียมการด้านติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานที่มัคคุเทศก์อาจต้องติดต่อประสานงานก่อนปฏิบัติหน้าที่ เช่น

  • กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ในด้านของที่พักแรมและการนำชม
  • กรมศิลปากร ในด้านการนำชมแหล่งท่องเที่ยวประวัติศาสตร์
  • กรมทางหลวง ตำรวจทางหลวง ตำรวจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย บริษัทประกันภัย หากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น เป็นต้น

นอกจากนี้ยังต้องศึกษากิจการของบริษัทนำเที่ยว เพื่อที่จะสามารถประชาสัมพันธ์บริษัทและเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับบริษัทนำเที่ยวที่เราสังกัดอยู่และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย


😍4. เตรียมตัวเอง

ที่สำคัญที่สุดเลยคือมัคคุเทศก์ต้องเตรียมความพร้อมตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพ ของใช้ส่วนตัว และเอกสารส่วนตัวของตัวเอง เพราะถ้ามัคคุเทศก์ไม่พร้อม ทุกอย่างที่วางแผนไว้ก็คงไม่ประสบผลสำเร็จ


การเตรียมตัวก่อนจะปฏิบัติงานของมัคคุเทศก์มีอยู่ 4ต หลัก ๆ คือ เตรียมเอกสาร เตรียมอุปกรณ์ เตรียมข้อมูล และเตรียมตัวเอง จะเห็นได้ว่ามัคคุเทศก์ไม่ใช่มีหน้าที่แค่นำเที่ยวเท่านั้น พวกเขาต้องเตรียมตัวมาอย่างดีเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและทำให้นักท่องเที่ยวประทับใจ นึกถึงเราและกลับมาใช้บริการกับเราอีก

💛💚💙💜💗



เอกสารอ้างอิง

chickyshare. (2557). หลักการนาเที่ยว หลักการพูด และการแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าที่เกิดจากองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว ในระหว่างการนาเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2563. จาก https://www.slideshare.net/chickyshare/t-guide-6

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดเชียงควน