วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563

เทคนิคการนำเสนอทัวร์ของมัคคุเทศก์

มัคคุเทศก์ หรือไกด์ เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือข้อมูล ความเข้าใจทางด้านวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ต่าง ๆ แก่บุคคลที่อยู่ในกลุ่มท่องเที่ยว ซึ่งมัคคุเทศก์ก็จะมีหลากหลายประเภทตามแต่ใบอนุญาตและความถนัดกันไป ซึ่งวันนี้เราก็จะมาแนะนำเทคนิคในการนำเสนอทัวร์ของมัคคุเทศก์ โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็น ดังนี้


1. กระบวนการทำงาน

    มัคคุเทศก์ที่ดีควรเริ่มจากการแนะนำตัวและอธิบายภาพรวมของโปรแกรมทัวร์ ว่าวันนี้เราจะไปที่ไหน ทำอะไรกันบ้าง พอมาถึงจุดรวมพลก็ควรแนะนำภาพรวมของสถานที่นั้น ๆ อย่างคร่าว ๆ ก่อนจะนำชมควรให้ลูกทัวร์เข้าห้องน้ำและอธิบายกฎหรือข้อห้ามซึ่งเป็นวัฒนธรรมและข้อระวังของประเทศนั้น ๆ ที่สำคัญอย่าลืมนัดแนะเรื่องเวลาและสถานที่ที่จะเจอกัน หลังชมเสร็จ เราต้องคอยเช็คจำนวนลูกทัวร์เสมอ


2. เนื้อหาที่มัคคุเทศก์ควรนำเสนอ

    เนื้อหาที่มัคคุเทศก์นำเสนอควรแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ

-Must talk สิ่งที่ต้องพูด ซึ่งครอบคลุม 5W และ 1H 

5W1H คืออะไร?

  • Who ใคร
  • What ทำอะไร
  • Where ที่ไหน
  • When เมื่อไหร่
  • How อย่างไร
  • Why ทำไม

-Should talk เกร็ดความรู้เพิ่มเติมที่นักท่องเที่ยวหรือลูกทัวร์ควรทราบ

-Could talk ถ้าเกิดว่าลูทัวร์สนใจก็ค่อยอธิบายเพิ่ม เช่น เรื่องสัพเพเหระ ตำนานหรือเรื่องเล่า เป็นต้น


3. เทคนิคการนำเสนอ/การพูดของมัคคุเทศก์

    แน่นอนว่าบุคลิกภาพของมัคคุเทศก์ต้องดี กล่าวคือควรมีความมั่นใจ ยืนตัวตรง Eye contact กับผู้ฟัง พูดเสียงดัง ฟังชัดมีหนักเบา ไม่ใช่ใช้น้ำเสียงเดียว อาจจะมีผายมือประกอบเพิ่มถ้ากำลังอธิบายลักษณะสิ่งของ แต่ไม่ควรขยับยุกยิก ๆ เพราะจะทำให้ลูกทัวร์เสียสมาธิได้ ที่สำคัญคืออย่าลืมยิ้ม! รอยยิ้มเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ไกด์น่าสนใจมากขึ้น

    เลือกจุดนำชมที่เหมาะสม กล่าวคือ เป็นสถานที่ร่ม แดดไม่สองทั้งไกด์และลูกทัวร์ อาจจะมีที่นั่งพักด้วยก็ยิ่งดี สมารถมองเห็นจุดเชื่อมโยงสำคัญได้ครบ อย่างเช่นถ้าไกด์บรรยายอยู่หน้าโบสถ์หรือเจดีย์ ก็ควรจะเลือกจุดที่ลูกทัวร์ไม่ต้องแหงนหน้ามอง กล่าวคือไม่ควรจะยืนใกล้กับเจดีย์มากนั่นเอง ต่อมาถ้าเป็นวัตถุอย่าง พระพุทธรูป ไกด์สามารถยืนใกล้ได้เพื่อจะอธิบายรูปทรง ลักษณะ และที่สำคัญไมควรยืนบังวัตถุจัดแสดง อาจจะยืนทำมุม 45 องศาก็ได้

    มีการอธิบายศัพท์เฉพาะก่อน ค่อยอธิบายความหมายเพิ่ม เช่น Stupa หรือ สถูป แทนที่เราจะใช้ศัพท์อังกฤษเลย เราพูดศัพท์เฉพาะ สถูป ก่อน แล้วค่อยอธิบายความหมายตาม จะทำให้น่าสนใจมากกว่า

    การทำให้ลูกทัวร์มีส่วนร่วมในการบรรยายอย่างถามคำถามแบบ two way communication กล่าวคือ มีช้อยให้เขาเลือกตอบนั่นเอง

    การชี้จุดสำคัญที่ทำให้ลูกทัวร์สังเกตและจำได้ง่ายขึ้น ได้ยังไง?                      การใช้คำคุณศัพท์อย่างสี หรือลักษณะเฉพาะ จะช่วยให้ลูกทัวร์สังเกตได้ ว่าเรากำลังพูดถึงอะไรนั่นเอง นอกจากนี้อาจจะมีอุปกรณ์เสริมอย่างรูปภาพ มาช่วยได้ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าไปบรรยายในตัวอาคารได้ เพราะจะเป็นการรบกวนผู้อื่นด้วย

ถ้าเกิดลูกทัวร์สงสัยและถามคำถาม ไกด์ควรทวนคำถามขอลูกทัวร์ก่อนว่าเข้าใจตรงกัน หรือเรื่องเดียวกันไหม? นอกจากนี้การทวนคำถามยังช่วยให้ไกด์ได้มีเวลาคิดคำตอบเพิ่มขึ้นด้วย ส่วนการตอบคำถาม ไม่ควรตอบยาว เพราะจะทำให้ลูกทัวร์หมดความสนใจ หรือเป็นการเปิดโอกาสให้เขาถามต่อ และอาจจะเสียเวลาได้

ภาพถ่ายโดย สุพรรษา ฤทธิพิพัฒน์

  

  จะเห็นได้ว่าการเป็นมัคคุเทศก์ที่ดีนั้นไม่ใช่เนื้อหา ข้อมูลต้องแม่นยำอย่างเดียว ควรมีเทคนิควิธีที่จะทำให้ลูกทัวร์ยังคงมีความสนใจในสิ่งที่เรากำลังเสนอ เพราะถ้าเรามัวแต่เสนอข้อมูลโดยลืมโฟกัสที่ผู้ฟัง ก็จะทำให้ทัวร์นั้นน่าเบื่อไปเลยทันที 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดเชียงควน