วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2561

หลง มนต์วัดเชียงทอง

"อัญมณีแห่งศิลปะล้านช้าง"


ภาพจาก http://www.modernpublishing.co.th/wp-content/uploads/2013/06/1364784896.gif.jpg

ประเทศลาว เป็นที่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีวัดมากมายที่สวยงามไม่แพ้ประเทศไทย ซึ่งวันนี้บล็อกเกอร์มือใหม่ หน้ากลมคนเดิม ขอเสนอวัดเชียงทองซึ่งเป็นวัดที่มีความเก่าแก่ของหลวงพระบาง มีความงดงามมากที่สุด จนได้รับการยกย่องว่าเป็นอัญมณีแห่งศิลปะล้านช้าง




วัดเชียงทองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมืองหลวงพระบาง ใกล้บริเวณแม่น้ำคานไหลมาบรรจบกับแม่น้ำโขง หรือตั้งอยู่ใจกลางเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว






วัดเชียงทองถูกสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช2102-2103 สมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ก่อนที่พระองค์จะย้ายเมืองหลวงไปนครเวียงจันทร์ วัดนี้ถือเป็นประตูเมือง และยังเป็นท่าเทียบเรือด้านเหนือ สำหรับการเสด็จทางชลมารคของพระมหากษัตริย์ วัดเชียงทองแห่งนี้ยังได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้ามหาชาติศรีสว่างวงศ์ และเจ้ามหาชาติศรีสว่างวัฒนา กษัตริย์สองพระองค์สุดท้ายของประเทศลาว

⧪⧪⧪⧪⧪

พระอุโบสถ ในภาษาลาวเรียกว่า"สิม"
พระอุโบสถ มีที่มาจาก"สีมา" แต่เรียกย่อๆว่า "สิม" เป็นสถานที่ที่เป็นขอบเขตศักดิ์สิทธิ์สำหรับพระสงฆ์ในการทำสังฆกรรม ต่อมากลายเป็นอาคารประธานของวัด ซึ่งในสมัยล้านช้าง วัดสำคัญๆจะมีเจดีย์หรือธาตุขนาดใหญ่เป็นประธาน โดยมีสิมตั้งอยู่หน้าเจดีย์

สิมวัดเชียงทองได้รับการยกย่องให้เป็นอัญมณีแห่งศิลปะลาว ต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในรุ่นหลัง สิมเป็นพระอุโบสถหลังไม่ใหญ่โตมากนัก รูปแบบสิม คือ มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยอิฐครึ่งหนึ่งและปูนครึ่งหนึ่ง มีการเจาะช่องแสง หลังคาซ้อนกันหลายชั้น มีชายคาที่แผ่กว้างและอ่อนโค้ง คลุมลงมาเกือบถึงพื้น แล้วโค้งงอนขึ้น  ด้วยหลังคาที่แอ่นโค้งซ้อนกันสามชั้น ลดหลั่นเกือบจรดฐาน ส่วนกลางของหลังคามีเครื่องยอดสีทอง ซึ่งประเทศลาวจะเรียกว่า "ช่อฟ้า" ประกอบด้วย17ช่อ ซึ่งจะหมายความว่าเป็นสิมที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้น ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของสิมแบบหลวงพระบาง

ภาพจาก http://www.isangate.com/new/images/art-culture/wat/sim_chawfah_01.jpg

ภาพจาก http://www.modernpublishing.co.th/wp-content/uploads/2013/06/26269-9.jpg
ช่อฟ้า 17 ช่อ


ศิลปะลาวส่วนใหญ่นิยมทำเป็นลายดอกไม้ และก้านขด สำหรับผนังภายใน รวมถึงผนังสกัดด้านนอกประดับลายฟอกคำเป็นเรื่องพุทธประวัติ และที่บริเวณด้านผนังสกัดหลังมีการประดับกระจกเป็นรูปต้นทอง ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมเรื่องการสร้างเมืองเชียงดง เชียงทอง ด้านบนเป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/home/user_data/file_data/201609/02/6674047c4.jpg
ต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง
การประดับกระจกบนผนัง เป็นความนิยมในการตกแต่งผนังภายนอกอาคาร ในศิลปะล้านช้างสกุลช่างหลวงพระบาทราวพุทธศตวรรษที่25 และในพุทธศาสนาเถรวาท ภาพต้นไม้ประดับที่อุโบสถ หมายถึงต้นโพธิ์ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า

ภาพจาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/media/k2/items/cache/6ddb2450462828abf9aabc88d6bfb7fe_XL.jpg
ลายคำประดับผนังด้านนอกสิมวัดเชียงทอง

จากภาพลายคำแสดงถึงหม้อน้ำแห่งความสมบูรณ์ซึ่งปรากฏมาตั้งแต่ในศิลปะอินเดีย หม้อน้ำนี้เป็นลายจิตรกรรมที่ปรากฏในล้านนาและล้านช้าง ด้านของของประตูปรากฏทวารบาลซึ่งถือดอกโบตั๋น ที่สื่อถึงการบูชาพระพุทธเจ้าที่ประทับอยู่ในตัวอาคาร

นอกจากพระอุโบสถ หรือสิม ยังมีวิหารน้อย 2หลังคือด้านข้างและด้านหลังของสิม ซึ่งวิหารน้อยด้านหลังของสิมเป็นหอพระม่าน ที่มีพระม่านประดิษฐานอยู่ และโรงเมี้ยนโกศ อาคารทรงโบราณมีลวดลายแกะสลักทาสีทองอร่ามขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นโรงเก็บพระโกศ,พระราชรถ,ราชยานของพระเจ้าชีวิตศรีสว่างวัฒนา


ภาพจาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/media/k2/items/cache/e303e2027514497aaa0603a129a3eb42_XL.jpg
โรงเมี้ยน
ภาพจาก https://f.ptcdn.info/619/055/000/p2fekvpw40QCortySMx-o.jpg
พระม่าน ภายในวิหารพระม่าน
หอพระม่านตั้งอยู่ด้านหลังของพระอุโบสถ สร้างขึ้นในพ.ศ. 2493 สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองที่ก้าวเข้าสู่ยุคกึ่งพระพุทธกาล ผนังวิหารด้านนอกมีลักษณะคล้ายกับวิหารองค์แรก 

ภายในวิหารนี้ประดิษฐาน พระม่าน ซึ่งถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในสามองค์ของเมืองหลวงพระบาง (อีกสององค์คือ พระบางและพระเจ้าองค์แสน) ชาวลาวเชื่อกันว่าใครที่มาบนบานขอลูกกับพระม่านจะได้ผลทุกราย

ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ของลาว(ช่วงวันสงกรานต์) จะมีการอัญเชิญพระม่านลงมาเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำและกราบไหว้


⧫⧫⧫⧫⧫


จะเห็นได้วัดเชียงทองนั้นมีอายุราวช่วงพุทธศตวรรษที่21-22 แต่ยังได้รับการบูรณะใหม่เรื่อยๆ ทำให้เห็นความสำคัญของอิทธิพลของศาสนาพุทธ และการเอาใจใส่ที่คอยทำนุบำรุงศาสนาของพระมหากษัตริย์ และถึงแม้จะผ่านมาหลายพุทธศตวรรษและคนรุ่นหลังก็ยังช่วยกันรักษามรดกทางศิลปะนี้เอาไว้

สำหรับท่านใดที่กำลังมองหาสถานที่ที่อยากจะพาครอบครัวไปไหว้พระเก้าวัด หรือว่ากำลังจะไปท่องเที่ยวที่ประะเทศลาว บล็อกเกอร์มือใหม่คนนี้อยากแนะนำให้ไปวัดเชียงทอง วัดศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของประเทศลาวที่ครั้งหนึ่งควรไปสักการะเพื่อเป็นมงคลชีวิต (ซึ่งเป็นความเชื่อส่วนบุคคล) จัดลงไปในแพลนเพิ่มด้วย เพราะความสวยงามของสถาปัตยกรรมจะทำให้ท่านหลง มนต์วัดเชียงทองจนติดใจ อยากจะขอกลับไปอีกครั้งแน่นอนค่ะ
10/09/2561




บรรณานุกรม

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป.).ลายคำประดับหอด้านนอกสิมวัดเชียงทอง.10 กันยายน 2561.จาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/paintingth/laosth/item/360-ลายคำประดับหอด้านนอกสิมวัดเชียงทอง.html

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป.).เจดีย์จุฬามณี ลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง.10 กันยายน 2561.จาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/paintingth/laosth/item/361-เจดีย์จุฬามณีลายคำประดับผนังด้านในสิมวัดเชียงทอง.html

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป.).ต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง.10 กันยายน 2561.จาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/paintingth/laosth/item/359-ต้นไม้กระจกประดับสีด้านหลังสิมวัดเชียงทอง.html

วิกิพีเดีย.วัดเชียงทอง.10 กันยายน 2561.จาก https://th.wikipedia.org/wiki/วัดเชียงทอง

ศักดิ์ชัย สายสิงห์.(2556).วัดเชียงทอง.10 กันยายน 2561.จาก http://art-in-sea.com/th/data/lao-art/lao-art/itemlist/category/164-wat-chieng-thong.html 

ศักดิ์ชัย สายสิงห์.(2556).สิม.10 กันยายน 2561.จาก http://art-in-sea.com/th/data/lao-art/lao-art/item/441-sim_art1.html

ศิลปะล้านช้าง.(2558).ประวัติพระม่าน.10 กันยายน 2561.จากhttps://www.facebook.com/SilpaLanChang/posts/ประวัติพระม่าน-ຫຼວງພະບາງประวัติพระม่านเพี้ยนมาจากคำว่าพม่าเรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ/1160245167332592/

หลวงพระบาง.(ม.ป.ป.).วัดเชียงทองราชะวรวิหาร.10 กันยายน 2561.จาก http://www.louangprabang.net/content.asp?id=89

โอเชี่ยนสไมล์.(ม.ป.ป.).วัดเชียงทอง.10 กันยายน 2561.จาก http://www.oceansmile.com/Lao/ChaingtongWat.htm

3 ความคิดเห็น:

  1. ถ้ามีตำนาน คำบอกเล่า หรือ เรื่องเล็กน้อยๆแปลกๆหน่อยน่าจะทำให้เรื่องน่าสนใจขึ้น
    ไม่ก็ใส่ความรู้สึกความเป็นตัวเองลงไปให้ชัดน่าจะดี
    พระม่าน
    https://goo.gl/iVutxZ
    นิทาน
    https://goo.gl/kcN2Lh

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
    2. ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวเราจะนำไปเพิ่มเติมและปรับปรุงตามคำแนะนำนะคะ

      ลบ

วัดเชียงควน