วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

หลง มนต์ปราสาทพนมบาแค็ง

"ศาสนสถานแห่งแรก เมื่อเข้าสู่สมัยพระนคร"


ภาพจาก http://www.era.su.ac.th/supat/slide/SL1010_0050.jpg
สวัสดีมิตรรักแฟนเราทุกคนค่ะ กลับมาพบกันอีกครัั้ง  ถ้าใครที่ติดตามบล็อกของเรามาตลอดจะทราบว่าเราเคย เขียนบล็อกเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ในประเทศกัมพูชาไปแล้ว 
แต่วันนี้อดไม่ได้จริงๆเพราะวันนี้เราจะพาทุกคนไปหลงกับมนต์เสน่ห์ของสถานที่ที่ฮิตติดอันดับว่าเป็นหนึ่งในจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สวยที่สุดในอาเซียนเลยก็ว่าได้ และยังเป็นศาสนสถานแห่งแรก ที่มีความโดดเด่นด้านศิลปะสถาปัตยกรรม เมื่อเข้าสู่สมัยพระนครอีกด้วยค่ะ
โดยสถานที่ที่เราจะแนะนำต่อจากนี้ก็คือ ปราสาทพนมบาแค็ง ประเทศกัมพูชานั้นเอง

🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻


☺️สร้างในปีพุทธศตวรรษที่15 (ประมาณพ.ศ.1450)
▶️รัชสมัยของพระเจ้ายโสวรมันที่1 ค.ศ.889-910 
▶️ศาสนาฮินดู ไศวนิกาย (บูชาพระศิวะ)
▶️ศิลปะแบบบาแคง
▶️สถานที่ตั้งปราสาทพนมบาแค็งตั้งอยู่บนเขาลูกเล็ก ห่างจากนครวัดไม่ไกล

ชื่อเรียกในสมัยโบราณ "ปราสาทพนมกันดาล" พนม หมายความว่า ภูเขา กันดาล หมายความว่า กลาง
ชื่อเดิมจริงๆคือ "ปราสาทยโสธระปุระ" ตั้งตามชื่อของพระเจ้ายโสวรมันที่1  ต่อมาเรียกปราสาทนี้ว่า ปราสาทพนมบาแคง ตามลักษณะของต้นบาแคงที่มีอยู่มากในบริเวณภูเขานี้




แผนที่ตั้งปราสาทพนมบาแค็ง









ปราสาทหลังนี้ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 75 เมตรจากระดับน้ำทะเล ใกล้กับนครวัด และเมืองนครธม 
จังหวัดเสียมเรียบ ประเทศกัมพูชา 

ความเป็นมา


ปราสาทพนมบาแค็ง ถือเป็นปราสาทสมัยเมืองพระนคร และเป็นศาสนสถานแห่งแรกที่ถูกสร้างเมื่อเข้าสู่สมัยเมืองพระนคร เป็นศาสนสถานฮินดูที่สร้างเพื่อถวายแด่พระศิวะ 

ปราสาทบาแค็ง:ศิลปะบาแคง

ปราสาทบาแค็งเป็นปราสาทแห่งแรกที่สร้างด้วยหินทราย เป็นปราสาทที่ตั้งอยู่บนฐานเป็นชั้น ที่สื่อถึงเขาไกรลาสหรือเขาพระสุเมรุ ตัวปราสาททั้งหมดสร้างอยู่บนภูเขาธรรมชาติ โดยฐานของปราสาทถูกสร้างขึ้นด้วยการใช้หินธรรมชาติบนยอดเขาเป็นแกนกลาง แล้วตกแต่งหุ้มด้วยหินทรายจนกลายเป็นชั้นๆอย่างระเบียบ การที่ฐานเป็นชั้น ทำให้สามารถรองรับปราสาทจำนวนมาก เนื่องจากฐานของปราสาทเป็นภูเขาธรรมชาติ ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้มาก


และปราสาทแห่งนี้ ยังเป็นแห่งแรกที่มีปราสาท 5 หลังอยู่ที่ยอดบนสุด โดยปราสาทประธานมีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่กึ่งกลาง และมีปราสาทขนาดเล็กตั้งอยู่ที่สี่มุม  ปราสาททั้งหมดประดิษฐานศิวลึงค์ ซึ่งฐานโยนีที่ปราสาทพนมบาแค็งชี้ไปทางทิศเหนือ ซึ่งศาสนาฮินดูเชื่อว่าเป็นที่ตั้งของภูเขาพระสุเมรุ ถิ่นพำนักของเทพทั้งหลาย

จำนวนปราสาทที่ยอดสุด 5 หลัง อาจเพื่อสื่อถึงภาคปรากฏต่างๆของพระศิวะ ที่มี 4 ประการได้แก่ พระศิวะผู้สร้าง ผู้รักษา ผู้ทำลาย ผู้กระทำมายา และผู้อนุเคราะห์ 

ภาพจาก  http://www.era.su.ac.th/supat/slide/SL1010_0051.jpg


ช่วงพุทธศตวรรษที่ 15 นิยมสร้างฐาน 5 ชั้น แต่ละชั้นมีปราสาทบริวารหลังเล็กๆจำนวนชั้นละ 12 หลัง เมื่อรวมทุกชั้นจะมีปราสาทบริวารจำนวน 60 หลัง ซึ่งในทุกหลังประดิษฐานศิวลึงค์
ปราสาทพนมบาแค็งมีรูปทรงเป็นปีระมิดสี่เหลี่ยมขั้นบันได 5 ขั้น โดยชั้นล่างสุดมีขนาด 76*76 ตารางเมตร ลดหลั่นไปเรื่อยๆจนถึงชั้นบนสุดที่มีขนาด 46*46 ตารางเมตร มีขั้นบันไดขึ้น 4 ด้าน มีปรางค์ขนาดเล็กรายล้อมอยู่ตามขั้นต่างๆ 108 หลังซึ่งเป็นเลขมงคลในศาสนาฮินดู


ภาพจาก http://www.era.su.ac.th/supat/slide/SL1026_0185.jpg

🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻

ภาพจาก https://www.travel-photographs.net/images/phnom-bakheng-sunset-panorama-view.jpg
ปราสาททุกหลังหันหน้าไปทางทิศตะวันออกซึ่งเป็นทิศมงคล



ปราสาทแห่งนี้ถูกสร้างให้สอดคล้องกับหลักการดาราศาสตร์ และปฏิทินมหาศักราชทซึ่งวันปีใหม่(วันแรกของเดือนไจตระ) ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงหน้าประตูพอดี ศิวะลึงค์จะเรืองอร่ามด้วยแสงอาทิตย์เหมาะแก่การทำพิธีกรรมสำคัญของศาสนาฮินดู

ปราสาทประธาน ก่อด้วยหินทรายทั้งหลัง และมีการสลักลวดลายประดับอย่างมากมาย ส่วนฐานของปราสาทเป็นฐานเตี้ยๆถัดขึ้นมาจึงเป็นส่วนเรือนธาตุที่มีการเจาะช่องประตูทั้งสี่ด้าน ตกแต่งด้วยเสาติดผนัง มีทวาบาลสตรีประทับอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว


ภาพจาก https://wesetoff.files.wordpress.com/2015/06/dsc09680-110.jpg?w=720

🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻

ภาพจาก https://f.ptcdn.info/611/025/000/1416109718-DSC09866JP-o.jpg

ทวารบาลสตรี ที่ปราสาทประธาน หรือเทวสตรีสกัดจากหินทราย เป็นรูปสตรียืนอยู่ภายในเรือนซุ้มเรือนแก้ว

ลักษณะของทวารบาลสตรี 
➤มีพระพักตร์ค่อนข้างกลม ทรงกระบังหน้า  
➤มีรัดเกล้าเป็นทรงกรวยแหลม 
➤ประดับแผ่นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้นๆ ทรงกุณฑลเป็นพู่ห้อย
➤พระหัตถ์ซ้านทรงถือแส้ด้ามยาว/พระหัตถ์ขวาทรงถือดอกบัว
➤ไม่สวมเสื้อ นุ่งย้านุ่งยาวแบบมีริ้วทั้งผืน ขอบผ้านุ่งด้านบนมีชายผ้าเปนรูปวงโค้งห้อยตกลงมา
➤ชายผ้าพับซ้อนอยู่ด้านหน้าเป็นรูปสามเหลี่ยมมีการประดับด้วยเข็มขัด 2 เส้นที่เส้นล่างมีพู่ห้อย



จากยอดปราสาทพนมบาแค็งสามารถมองเห็นปราสาทนครวัดอยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ 
เมื่อพระอาทิตย์ตก แสงของพระอาทิตย์จะสาดใส่ยอดปรางค์ของนครวัด ทำให้ละสายตากับวิวตรงหน้าไม่ได้เลย


ภาพจาก http://www.yclsakhon.com/images/sub_1339645335/Slide57.jpg
🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻

ภาพจาก https://f.ptcdn.info/941/030/000/1430565829-P4131291EP-o.jpg
🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻

ยอดปราสาทพนมบาแค็ง คือจุดชมพระอาทิตย์ตกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในอาเซียน

ภาพจาก http://www.w-friend.com/images/Capture_2016_01_21_15_29_39_905.png
🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻

ภาพจาก http://www.planetholidaystravel.com/wp-content/uploads/2018/03/q6.jpg


😊😊😊😊😊😊😊😊😊😊


ภาพจาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/media/k2/items/cache/47e29f9fe96a1771642fb05ac8a8fd00_XL.jpg

ซึ่งถ้าจะขึ้นไปดูพระอาทิตย์ที่ยอดปราสาทนั้น เห็นทีคงจะต้องฟิตร่างกายกันไว้หน่อยนะคะ เนื่องจากตามที่กล่าวไปว่าปราสาทตั้งอยู่บนยอดเขา ทางก็จะชันและลำบากสักหน่อย แต่ที่นี่ก็มีจุดที่ไม่ต้องขึ้นไปถึงยอดก็สามารถดูพระอาทิตย์ตกได้ ถึงอย่างนั้นเมื่อได้ไปแล้วต้องขึ้นไปให้สุดอย่าให้ข้อแม้ใดๆมาหยุดเราได้ ✌️
ภาพจาก http://www.stormclub.com/images/webboard/3/00011566-105.jpg


🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻🔻


ปราสาทพนมบางแค็ง เป็นศาสนสถานที่คงความงดงามอย่างมีเอกลักษณ์แม้จะถูกซ่อนเอาไว้ภายใต้ธรรมชาติบนภูเขาสูง ซึ่งนอกจากคุณผู้อ่านจะได้พบเจอกับความงดงามและความยิ่งใหญ่ของตัวปราสาทที่ไม่น่าเชื่อว่าเป็นฝีมือของมนุษย์เดินดินแล้ว ยังมีกิจกรรมที่เราอยากจะเชิญชวนให้ผู้อ่านไปสัมผัสด้วยตนเอง คือ การขึ้นไปนั่งชมพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้ายามเย็นและการยลโฉมปราสาทนครวัดจากยอดเขาแห่งนี้  ซึ่งนับว่าเป็นกิจกรรมที่ไม่ควรพลาดเลยทีเดียวค่ะ 



08/10/2561


บรรณานุกรม

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(2558).ปราสาทบาแค็ง:ศิลปะบาแคง.นนทบุรี:มิวเซียมเพลส

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป.).ทวารบาลสตรีที่ปราสาทประธานของปราสาทบาแค็ง.6 ตุลาคม 2561. จาก http://art-in-sea.com/th/data/cambodia-art/กลุ่มปราสาทขอม/ศิลปะก่อนเมืองพระนคร/itemlist/category/50-bakheng.html?start=4

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป.).ปราสาทบาแค็ง.6 ตุลาคม 2561. จาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/architectureth/กัมพูชา/item/119-ปราสาทบาแค็ง.html

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป.).ปราสาทประธานของปราสาทบาแค็ง.6 ตุลาคม 2561.จาก http://art-in-sea.com/th/data/cambodia-art/กลุ่มปราสาทขอม/ศิลปะก่อนเมืองพระนคร/item/155-bakheng3.html

ปราสาทหิน.(ม.ป.ป.).ปราสาทพนมบาเค็ง.6ตุลาคม 2561. จาก https://sites.google.com/site/prasathhin/prawati-prasath-hin/prasath-phnm-ba-khaeng

โอเชียนสไมล์.(ม.ป.ป.).ปราสาทพนมบาแคง.6 ตุลาคม 2561. จาก http://www.oceansmile.com/KHM/Panompakang.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

วัดเชียงควน